วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อภิปรายและสรุปผลการทดลอง

จากผลการทดลองของอัตราเร็วในการหุบของใบกาบหอยแครงทั้ง 3 อุณหภูมิคือ 20 24 และ 28 องศาเซลเซียส ได้ผลสรุปดังนี้
1.อัตราเร็วเชิงมุมมีค่ามากที่สุดไปน้อยที่สุดตามลำดับคือ อุณหภูมิ 28 24 และ 20 องศาเซลเซียส ตามลำดับ โดยมีอัตราเร็วเชิงมุมเฉลี่ยเท่ากับ 0.1929 0.1276 และ 0.1042 เรเดียน/วินาที ตามลำดับ
2.ในแต่ละอุณหภูมิจะมีครั้งที่อัตราเร็วเชิงมุมสูงกว่าครั้งอื่น อาจเป็นเพราะความสมบูรณ์ของแต่ละใบกาบไม่เท่ากัน อัตราเร็วเชิงมุมอาจขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของใบกาบด้วย

ผลการศึกษา

ตารางบันทึกผลการทดลอง

วัสดุอุปกรณ์และวิธีดำเนินการ

วัสดุอุปกรณ์
1. เครื่องปรับอากาศ
2. เข็มเขี่ย
3. ไม้โปรแทรกเตอร์วัดมุม
4. นาฬิกาจับเวลา
5. เทอร์มอมิเตอร์

พืช
ต้นกาบหอยแครง

แนวทางในการศึกษา
1. วัดองศาระหว่างใบกาบหอยแครงทั้ง 2 ใบ โดยวัดเป็นองศา
2. เปลี่ยนองศาเป็นหน่วยเรเดียน โดยสูตร เรเดียน = องศา/180
3. นำต้นกาบหอยแครงไปไว้ในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิโดยเครื่องปรับอากาศที่ 20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที
4. นำเทอร์มอมิเตอร์มาวัดอุณหภูมิบริเวณที่ต้นกาบหอยแครงอยู่ เพื่อตรวจสอบว่าอุณหภูมิอยู่ที่ 20 องศาเซลเซียสจริง
5. แตะเข็มเขี่ย ให้ปลายเข็มโดนเส้นขนกับดัก 2 เส้นที่ใบกาบหอยแครง ขณะที่ใบทั้ง 2 กางออกในภาวะปกติ
6. จับเวลาตั้งแต่ปลายเข็มเขี่ยโดนเส้นขนกับดัก จนใบทั้ง 2 ปิด
7. นำองศาระหว่างใบทั้งสองและเวลาในการหุบมาคำนวณอัตราเร็วเชิงมุม ด้วยสูตร
อัตราเร็วเชิงมุม = มุมระหว่างใบกาบหอยแครงทั้ง 2 ใบ / เวลาตั้งแต่ปลายเข็มเขี่ยโดนเส้นขนกับดัก จนใบทั้ง 2 ปิด
8. ทำซ้ำข้อ 1 โดยปรับอุณหภูมิที่ 24 และ 28 องศาเซลเซียส